โรคปากเท้าเปื่อยในวัว (FMD) วิธีการป้องกันและแก้ไข

ฤดูฝนนอกจากจะทำให้ผืนแผ่นดินและป่าเขียวขจี ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มผลิดอกออกผล กลายเป็นซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ให้เราสามารถนำมาประกอบอาหาร เช่น เห็ด ผัก และ ผลไม้ต่างๆ และยังเป็นฤดูแห่งการเพาะปลูกของเกษตรกรหลายๆคน นอกจากจะสวยงามแล้ว แต่ยังแฝงมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่มนุษย์เราต้องหาทางป้องกัน เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดต่างๆ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคที่เกี่ยวกับเกษตรกรที่เลี้ยงวัว เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัดโรคนี้  “โรคปากเท้าเปื่อยในวัว” หรือที่ทุกคนเรียกกันคือ “โรคกีบ” เป็นโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรมาอย่างยาวนานเพราะจะมีการระบาดทุกๆปีในช่วงต้นฤดูฝนโดยเฉพาะในโค กระบือและสุกร ซึ่งโรคปากเท้าเปื่อนนี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เท้ากีบเป็นอย่างมาก และสร้างความเสียหายด้านผลผลิตและการจัดจำหน่าย ฉะนั้นเราจำเป็นต้องมาทำความรู้จักกับโรคปากเท้าเปื่อยในวัว ให้มากขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาอย่างทันถ่วงที

“เรียนรู้ รู้ทันเพื่อป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว”

โรคปากเท้าเปื่อย หรือ FMD (Foot and Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบได้ในสัตว์ที่มีเท้ากีบคู่เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ และกวาง ยกเว้นม้า ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ ปัจจุบันมี 7 ชนิดคือ ชนิด A,O, C, SAT 1, SAT 2, SAT 3 และAsia 1 สำหรับในบ้านเราพบ 3 ชนิดคือ ชนิด A, O และ Asia 1

เชื้อไวรัสแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อยนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งกันและกัน ดังนั้นสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด O จะสามารถเกิดโรคที่เกิดจากชนิด A และ Asia 1

การติดต่อของ โรคปากเท้าเปื่อยในวัว จากสัตว์สู่สัตว์

โรคนี้สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ได้เช่นกันไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และยังสามารถแพร่กระจายได้ในวงกว้างและรวดเร็วอีกด้วย โดยเฉพาะในสัตว์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะติดโรคจากสัตว์ที่ป่วยได้โดยง่ายขึ้น การติดต่อของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลักๆ 2 ทางคือ

  1. การได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับยานพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสัตว์ คน เสื้อผ้า รองเท้า สัตว์เลี้ยง อาหาร หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในคอกสัตว์ที่ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อก่อนการนำมาใช้อีกครั้ง
  2. การสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง หรือการขับถ่ายสารคัดหลั่งจากสัตว์ป่วย เช่น น้ำนม น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ของเหลวจากตุ่มใส(น้ำเหลือง)สัตว์ป่วยจะสามารถขับไวรัสออกมาได้แม้จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออยู่ในระยะฟักตัวของโรค สำหรับสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไว้แล้ว เมื่อไวรัสติดต่อเข้าไปจะไม่มีผลทำให้สัตว์แสดงอาการของโรค แต่สัตว์ตัวนั้นจะมีเชื้ออยู่ในตัว ซึ่งหมายถึงว่าสัตว์ตัวนั้นจะเป็นพาหะของโรคได้

โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

การติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคนี้สามารถแพร่กระจายมาสู่คนได้เช่นกัน  ตามหลักการแล้วคนที่จะติดเชื้อจากโรคชนิดนี้ได้สามารถติดผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลเท่านั้น ซึ่งจะติดต่อโดยตรงทางเยื่อบุเมือก หรือการดื่มนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์มาก่อน แต่อาการของโรคที่อาจจะเกิดกับคนจะไม่มีรุนแรงและไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมายังไม่พบเหตุการณ์ที่ว่าโรคปากและเท้าเปื่อยที่เกิดกับสัตว์ติดต่อมาสู่คน

โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

อาการของ โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

ในระยะแรก หลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ 2 – 8 วัน สัตว์จะมีเริ้มไข้ ซึม เบื่ออาหาร และเริ่มเกิดเม็ดตุ่มใสที่เยื่อบุภายในช่องปากหรือลิ้น และเหงือก หลังจากนั้นตุ่มใสๆจะเริ่มแตก แล้วเนื้อเยื่อจะเริ่มลอก ทำให้สัตว์มีอาการเจ็บปาก เริ่มกินอาหารลำบากหรือกินอาหารไม่ได้เลย

ในระยะที่สอง เชื้อเริ่มเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย ผิวหนังที่เท้าจะบวมเต่ง และมีน้ำเหลืองขังอยู่ภายในแล้วจะแตกออกเป็นแผล มักพบบริเวณกีบหรือซอกกีบ ซึ่งอาจเปื่อยและ ลอกคราบ และทำให้ขาเริ่มเจ็บขาหรืออาจทำให้สัตว์เสียขาได้ นอกจากนี้แล้วหากเกิดอาการในโคนมจะทำให้อัตราการให้นมลดลง และจะหยุดให้นมในที่สุด หากเกิดในโคเนื้อและสุกรจะทำให้สัตว์น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วเนื่องจากสัตว์จะไม่สามารถกินอาหารได้ และจะมีผลทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียทั้งเงินและเวลาในการเลี้ยงและรักษา หากเกิดในสัตว์ที่กำลังท้องอยู่ อาจจะทำให้สัตว์เกิดการแท้งและมีปัญหาการผสมไม่ติดได้ในภายหลัง

การควบคุมและป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

  1. การเฝ้าระวังการระบาดของโรค
  2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อลดการสูญเสียในภายหลัง
  3. หากมีการระบาดของโรคควรงดการเคลื่อนย้ายสัตว์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายในวงกว้าง
  4. การทำลายและแยกสัตว์ป่วย

วิธีป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

  1. ควรงดการนำสัตว์เข้าเลี้ยงใหม่ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือนำสัตว์ที่มาจากพื้นที่ที่มีโรคระบาด
  2. ห้ามยานพาหนะเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะรถที่เข้าฟาร์มหลายแห่ง เช่น รถรับซื้อโค-กระบือ และสุกร
  3. ควรมีการทำความสะอาดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและทำลายเชื้อโรคในโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
  4. ฉีดวัคซีนปากและเท้าเปื่อยครั้งแรกตั้งแต่สัตว์อายุ 4-6 เดือน
  5. ฉีดกระตุ้นซ้ำหลังฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์ ต่อจากนั้นฉีดทุก 4 เดือนเพื่อป้องกันการสูญเสีย

รักษา โรคปากเท้าเปื่อยในวัวด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน 

1.การใช้เกลือในการป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย 1.ทำได้ด้วยการทำบ่อหน้าคอกเสมือนการล้างเท้าก่อนเข้าออกคอกหรือโรงเรือนทุกครั้ง หลังจากทำบ่อแล้วใส่เกลือลงไปประมาณ 5 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำพอประมาณให้ท่วมหลังเท้า วิธีนี้ประหยัดและป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสภายในคอกได้อีกด้วย

เกลือสามารถบรรเทาอาการได้

2.การรักษาด้วยการใช้ยาป้ายลิ้นสีม่วง(Gentian Viloet)มีทั้งแบบสเปรย์พ่นและแบบน้ำ พ่นหรือทาบริเวณแผลในปาก ลิ้น ต่อเนื่องใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วันแผลจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ หากมีตุ่มหรือแผลบริเวณภายนอกสามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มราดที่แผลต่อเนื่อง 3 วันจะทำให้แผลทุเลาลงได้

3.การใช้น้ำมะขามเปียกเข้มข้นทาปากแผลวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นอย่างต่อเนื่องจนแผลหายเป็นปกติ

มะขามช่วยบรรเทาอาการ

4.การใช้เปลือกไม้ที่มีรสฝาดมาใช้ในการรักษาแผล เช่น เปลือกประดู่ ต้นแค ลูกหว้า นำมาสับแช่น้ำทิ้งไว้ 1คืนแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้สำหรับราดที่แผลตรงกีบเท้าเช้าเย็นเพื่อรักษาอาการจะดีขี้น เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาตามอาการ

โรคปากเท้าเปื่อยในวัวนอกจากวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว เกษตรกรควรทำการฉีดพ่นฆ่าเชื้อในโรงเรือนและหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเกิดแหล่งเพาะเชื้อโรคและป้องกันการระบาดของโรคถึงแม้ว่าโรคปากเท้าเปื่อยที่เกิดขึ้นในสัตว์เท้ากีบจะมีวัคซีนป้องกันแต่เราเองก็ไม่ควรประมาทและต้องสังเกตุอาการสัตว์เลี้ยงของเราตลอดเวลาเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะดีที่สุด กันไว้ดีกว่าแก้ทีหลังนะครับ

ฝากติดตามบทความดีๆของทีมงานอีสานเดลี่หรือหากมีข้อสงสัยสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเราได้ทางคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย

Tags: การควบคุมโรคปากเท้าดปื่อย, การดูแลสัตว์, การป้องกันปากเท้าเปื่อย, การระวังโรค, การรักษาปากดท้าเปื่อย, การเลี้ยงสัตว์, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, รู้จักโรคปากเท้า, วัคซีนปากเท้าเปื่อย, โรคปากเท้าเปื่อย, โรคในสัตว์เท้ากีบ, โรคในสัตว์เลี้ยง

โรคปากเท้าเปื่อยในวัว (FMD) วิธีการป้องกันและแก้ไข

ฤดูฝนนอกจากจะทำให้ผืนแผ่นดินและป่าเขียวขจี ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มผลิดอกออกผล กลายเป็นซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ให้เราสามารถนำมาประกอบอาหาร เช่น เห็ด ผัก และ ผลไม้ต่างๆ และยังเป็นฤดูแห่งการเพาะปลูกของเกษตรกรหลายๆคน นอกจากจะสวยงามแล้ว แต่ยังแฝงมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่มนุษย์เราต้องหาทางป้องกัน เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดต่างๆ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคที่เกี่ยวกับเกษตรกรที่เลี้ยงวัว เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัดโรคนี้  “โรคปากเท้าเปื่อยในวัว” หรือที่ทุกคนเรียกกันคือ “โรคกีบ” เป็นโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรมาอย่างยาวนานเพราะจะมีการระบาดทุกๆปีในช่วงต้นฤดูฝนโดยเฉพาะในโค กระบือและสุกร ซึ่งโรคปากเท้าเปื่อนนี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เท้ากีบเป็นอย่างมาก และสร้างความเสียหายด้านผลผลิตและการจัดจำหน่าย ฉะนั้นเราจำเป็นต้องมาทำความรู้จักกับโรคปากเท้าเปื่อยในวัว ให้มากขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาอย่างทันถ่วงที

“เรียนรู้ รู้ทันเพื่อป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว”

โรคปากเท้าเปื่อย หรือ FMD (Foot and Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบได้ในสัตว์ที่มีเท้ากีบคู่เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ และกวาง ยกเว้นม้า ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมีอยู่หลายชนิดและหลายสายพันธุ์ ปัจจุบันมี 7 ชนิดคือ ชนิด A,O, C, SAT 1, SAT 2, SAT 3 และAsia 1 สำหรับในบ้านเราพบ 3 ชนิดคือ ชนิด A, O และ Asia 1

เชื้อไวรัสแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อยนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งกันและกัน ดังนั้นสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด O จะสามารถเกิดโรคที่เกิดจากชนิด A และ Asia 1

การติดต่อของ โรคปากเท้าเปื่อยในวัว จากสัตว์สู่สัตว์

โรคนี้สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ได้เช่นกันไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และยังสามารถแพร่กระจายได้ในวงกว้างและรวดเร็วอีกด้วย โดยเฉพาะในสัตว์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะติดโรคจากสัตว์ที่ป่วยได้โดยง่ายขึ้น การติดต่อของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลักๆ 2 ทางคือ

  1. การได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับยานพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสัตว์ คน เสื้อผ้า รองเท้า สัตว์เลี้ยง อาหาร หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในคอกสัตว์ที่ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อก่อนการนำมาใช้อีกครั้ง
  2. การสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง หรือการขับถ่ายสารคัดหลั่งจากสัตว์ป่วย เช่น น้ำนม น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ของเหลวจากตุ่มใส(น้ำเหลือง)สัตว์ป่วยจะสามารถขับไวรัสออกมาได้แม้จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออยู่ในระยะฟักตัวของโรค สำหรับสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไว้แล้ว เมื่อไวรัสติดต่อเข้าไปจะไม่มีผลทำให้สัตว์แสดงอาการของโรค แต่สัตว์ตัวนั้นจะมีเชื้ออยู่ในตัว ซึ่งหมายถึงว่าสัตว์ตัวนั้นจะเป็นพาหะของโรคได้

โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

การติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคนี้สามารถแพร่กระจายมาสู่คนได้เช่นกัน  ตามหลักการแล้วคนที่จะติดเชื้อจากโรคชนิดนี้ได้สามารถติดผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลเท่านั้น ซึ่งจะติดต่อโดยตรงทางเยื่อบุเมือก หรือการดื่มนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์มาก่อน แต่อาการของโรคที่อาจจะเกิดกับคนจะไม่มีรุนแรงและไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมายังไม่พบเหตุการณ์ที่ว่าโรคปากและเท้าเปื่อยที่เกิดกับสัตว์ติดต่อมาสู่คน

โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

อาการของ โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

ในระยะแรก หลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ 2 – 8 วัน สัตว์จะมีเริ้มไข้ ซึม เบื่ออาหาร และเริ่มเกิดเม็ดตุ่มใสที่เยื่อบุภายในช่องปากหรือลิ้น และเหงือก หลังจากนั้นตุ่มใสๆจะเริ่มแตก แล้วเนื้อเยื่อจะเริ่มลอก ทำให้สัตว์มีอาการเจ็บปาก เริ่มกินอาหารลำบากหรือกินอาหารไม่ได้เลย

ในระยะที่สอง เชื้อเริ่มเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย ผิวหนังที่เท้าจะบวมเต่ง และมีน้ำเหลืองขังอยู่ภายในแล้วจะแตกออกเป็นแผล มักพบบริเวณกีบหรือซอกกีบ ซึ่งอาจเปื่อยและ ลอกคราบ และทำให้ขาเริ่มเจ็บขาหรืออาจทำให้สัตว์เสียขาได้ นอกจากนี้แล้วหากเกิดอาการในโคนมจะทำให้อัตราการให้นมลดลง และจะหยุดให้นมในที่สุด หากเกิดในโคเนื้อและสุกรจะทำให้สัตว์น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วเนื่องจากสัตว์จะไม่สามารถกินอาหารได้ และจะมีผลทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียทั้งเงินและเวลาในการเลี้ยงและรักษา หากเกิดในสัตว์ที่กำลังท้องอยู่ อาจจะทำให้สัตว์เกิดการแท้งและมีปัญหาการผสมไม่ติดได้ในภายหลัง

การควบคุมและป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

  1. การเฝ้าระวังการระบาดของโรค
  2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อลดการสูญเสียในภายหลัง
  3. หากมีการระบาดของโรคควรงดการเคลื่อนย้ายสัตว์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายในวงกว้าง
  4. การทำลายและแยกสัตว์ป่วย

วิธีป้องกัน โรคปากเท้าเปื่อยในวัว

  1. ควรงดการนำสัตว์เข้าเลี้ยงใหม่ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือนำสัตว์ที่มาจากพื้นที่ที่มีโรคระบาด
  2. ห้ามยานพาหนะเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะรถที่เข้าฟาร์มหลายแห่ง เช่น รถรับซื้อโค-กระบือ และสุกร
  3. ควรมีการทำความสะอาดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและทำลายเชื้อโรคในโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
  4. ฉีดวัคซีนปากและเท้าเปื่อยครั้งแรกตั้งแต่สัตว์อายุ 4-6 เดือน
  5. ฉีดกระตุ้นซ้ำหลังฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์ ต่อจากนั้นฉีดทุก 4 เดือนเพื่อป้องกันการสูญเสีย

รักษา โรคปากเท้าเปื่อยในวัวด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน 

1.การใช้เกลือในการป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย 1.ทำได้ด้วยการทำบ่อหน้าคอกเสมือนการล้างเท้าก่อนเข้าออกคอกหรือโรงเรือนทุกครั้ง หลังจากทำบ่อแล้วใส่เกลือลงไปประมาณ 5 กิโลกรัม แล้วเติมน้ำพอประมาณให้ท่วมหลังเท้า วิธีนี้ประหยัดและป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสภายในคอกได้อีกด้วย

เกลือสามารถบรรเทาอาการได้

2.การรักษาด้วยการใช้ยาป้ายลิ้นสีม่วง(Gentian Viloet)มีทั้งแบบสเปรย์พ่นและแบบน้ำ พ่นหรือทาบริเวณแผลในปาก ลิ้น ต่อเนื่องใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วันแผลจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ หากมีตุ่มหรือแผลบริเวณภายนอกสามารถใช้จุลินทรีย์อีเอ็มราดที่แผลต่อเนื่อง 3 วันจะทำให้แผลทุเลาลงได้

3.การใช้น้ำมะขามเปียกเข้มข้นทาปากแผลวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นอย่างต่อเนื่องจนแผลหายเป็นปกติ

มะขามช่วยบรรเทาอาการ

4.การใช้เปลือกไม้ที่มีรสฝาดมาใช้ในการรักษาแผล เช่น เปลือกประดู่ ต้นแค ลูกหว้า นำมาสับแช่น้ำทิ้งไว้ 1คืนแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้สำหรับราดที่แผลตรงกีบเท้าเช้าเย็นเพื่อรักษาอาการจะดีขี้น เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาตามอาการ

โรคปากเท้าเปื่อยในวัวนอกจากวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว เกษตรกรควรทำการฉีดพ่นฆ่าเชื้อในโรงเรือนและหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเกิดแหล่งเพาะเชื้อโรคและป้องกันการระบาดของโรคถึงแม้ว่าโรคปากเท้าเปื่อยที่เกิดขึ้นในสัตว์เท้ากีบจะมีวัคซีนป้องกันแต่เราเองก็ไม่ควรประมาทและต้องสังเกตุอาการสัตว์เลี้ยงของเราตลอดเวลาเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะดีที่สุด กันไว้ดีกว่าแก้ทีหลังนะครับ

ฝากติดตามบทความดีๆของทีมงานอีสานเดลี่หรือหากมีข้อสงสัยสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเราได้ทางคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Tags: การควบคุมโรคปากเท้าดปื่อย, การดูแลสัตว์, การป้องกันปากเท้าเปื่อย, การระวังโรค, การรักษาปากดท้าเปื่อย, การเลี้ยงสัตว์, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, รู้จักโรคปากเท้า, วัคซีนปากเท้าเปื่อย, โรคปากเท้าเปื่อย, โรคในสัตว์เท้ากีบ, โรคในสัตว์เลี้ยง