ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ที่มากด้วยคุณประโยชน์

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ต้นไม้ใบหญ้าหมู่แมกไม้นานาพันธุ์ก็จะเริ่มผลิออกดอกออกผล เบิ่งบานกัน ดินแดนอีสานก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูการทำเกษตรกรรมอย่างเต็มขั้น เช่นเดียวกับพืชพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่าง ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ก็จะเริ่มออกดอกด้วยเช่นกัน คนอีสานสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยการอยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่รุ่นบุกเบิก ด้วยการหาอาหารพืชผักจากธรรมชาติ แล้วนำมาปรับเปลี่ยนนวัฒนกรรมการกิน ออกมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งเรียกได้ว่าหลายๆ เมนูต้องอาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย เรียนรู้จากประสบการณ์ ว่าพืชขนิดไหนกินได้  และยังสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบันด้วย

“ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ให้รสชาติแปลกใหม่และมีกลิ่นเฉพาะตัว”

ดอกกระเจียวก็เป็นหนึ่งในนั้นที่คนอีสานนิยมนำทานกัน ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร จะออกดอกตามฤดูกาลเท่านั้น กระเจียวเป็นพืชล้มลุกตระกลูขิง มีเหง้าใต้ดินสามารถทนแล้งอยู่ได้หลายปี ลำต้นสูงประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือสามารถแตกเป็นกอได้เช่นกัน ใบเรียวปลายแหลม ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยง หรือมีขนสั้นๆอ่อนนุ่มเล็กน้อย ก้านใบยาว  ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อออกดอกเป็นช่อ โคนช่อรองรับดอกสีเขียว กลีบดอกสีเหลือง ดอกกระเจียวพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะตัวคล้ายกับดอกข่า แต่ขณะนี้ดอกกระเจียวเริ่มได้รับความนิยมน้อยลงไปทุกที และตามธรรมชาติก็เริ่มหาได้ยากขึ้นเช่นกัน แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถปลูกขยายพันธุ์กระเจียวเป็นผักที่สามารถใช้ทานในครัวเรือนได้แล้ว จากเมื่อก่อนที่จะต้องออกไปหาตามธรรมชาติเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่ามีสรรพคุณคุณทางยาด้วยเช่นกัน 

ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร
ต้นกระเจียว

ในประเทศไทยมีการปลูกต้นกระเจียวมากในแถบภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชัยภูมิ จนได้ขนานนามว่าเป็นพืชสมุนไพรที่คู่กับจังหวัดไปเลย และยังมีการจัดงานชมทุ่งดอกกระเจียว ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดที่จัดขึ้นทุกปี มีนักท่องเที่ยวมากมายต่างแห่แหนกันมาที่นี่เพื่อยนโฉมความงามของทุ่งดอกกระเจียว นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ตามทุ่งหญ้าหรือตามป่าเขาด้วย ฤดูกาลที่เหมาะสมในการออกดอกคือฤดูฝน ส่วนที่สามารถนำมาทานได้จะเป็นต้นอ่อน และดอกเท่านั้น คนอีสานนิยมนำมาลวกหรือทานเป็นผักสดก็ได้ ใช้เป็นผักเคียงคู่กับน้ำพริก ขนมจีน ส้มตำและลาบ เป็นต้น ใบและหัวหรือเหง้าจะไม่นิยมทานกันเนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนมากคล้ายกับ ขิง ข่า หากทานในปริมาณมากอาจทำให้เป็นพิษได้ กระเจียวที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง และ ต้นกระเจียวขาวหรือกระเจียวป่า ดอกกระเจียวทั้งสองประเภทสามารถทานได้ แต่ดอกกระเจียวขาวหรือกระเจียวป่าจะมีกลิ่นฉุนแรงกว่ากระเจียวแดงจึงได้รับความนิยมมากกว่า

กระเจียวป่า
ดอกกระเจียวขาว
ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร
ดอกกระเจียวแดง

ส่วนประโยชน์ของดอกกระเจียวนั้นนอกจากรสชาติและกลิ่นเฉพาะตัวแล้ว ยังสามารถแก้ท้องผูก ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร และมีกากใยอาหารสูงช่วยในการขับถ่ายได้ดี ช่วยในการบำรุงร่างกาย

ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร

โทษของกระเจียวนั้นมีไม่มาก หากแต่ขึ้นอยู่กับวิธีการกินของเราเช่นกัน สำหรับการกินกระเจียวนั้น เราจะไม่นิยมกิน ใบ และ เหง้าของกระเจียว นั่นเป็นเพราะมีรสเผ็ดร้อนมาก หากกินมากๆ ก็อาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้ แต่การกินกระเจียวนั้น ต้องรู้จักวิธีการกินด้วยเช่นกัน ด้วยการลดความเผ็ดร้อนลงก่อนผ่านความร้อน ด้วยการต้ม หน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว ก่อนการทาน หากเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็จะสามารถเปลี่ยนพืชสมุนไพรชนิดนี้ให้กลายคุณประโชยน์ต่อร่างกายโดยไม่มีโทษเลย หวังว่าทุกคนจะอร่อยไปกับการทานนะครับ 

ฝากติดตามบทความดีๆของทีมงานอีสานเดลี่หรือหากมีข้อสงสัยสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเราได้ทางคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย

Tags: กระเจียว, กลิ่นหอม, กินง่าย, ของดีหายาก, ของดีอีสาน, ของป่า, ดอกกระเจียว, ดอกไม้ป่า, ธรรมชาติ, ธรรมชาติบ้านเรา, ผักป่า, ผักอีสาน, มีประโยชน์, สมุนไพร, หอมหวน, อร่อย, อร่อยชัวร์, อาหารการกิน, อาหารหายาก, อิสาน, อีสาน, อีสานใต้, แซบ, แซบหลาย

ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ที่มากด้วยคุณประโยชน์

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ต้นไม้ใบหญ้าหมู่แมกไม้นานาพันธุ์ก็จะเริ่มผลิออกดอกออกผล เบิ่งบานกัน ดินแดนอีสานก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูการทำเกษตรกรรมอย่างเต็มขั้น เช่นเดียวกับพืชพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่าง ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ก็จะเริ่มออกดอกด้วยเช่นกัน คนอีสานสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยการอยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่รุ่นบุกเบิก ด้วยการหาอาหารพืชผักจากธรรมชาติ แล้วนำมาปรับเปลี่ยนนวัฒนกรรมการกิน ออกมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งเรียกได้ว่าหลายๆ เมนูต้องอาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย เรียนรู้จากประสบการณ์ ว่าพืชขนิดไหนกินได้  และยังสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบันด้วย

“ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร ให้รสชาติแปลกใหม่และมีกลิ่นเฉพาะตัว”

ดอกกระเจียวก็เป็นหนึ่งในนั้นที่คนอีสานนิยมนำทานกัน ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร จะออกดอกตามฤดูกาลเท่านั้น กระเจียวเป็นพืชล้มลุกตระกลูขิง มีเหง้าใต้ดินสามารถทนแล้งอยู่ได้หลายปี ลำต้นสูงประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือสามารถแตกเป็นกอได้เช่นกัน ใบเรียวปลายแหลม ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยง หรือมีขนสั้นๆอ่อนนุ่มเล็กน้อย ก้านใบยาว  ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อออกดอกเป็นช่อ โคนช่อรองรับดอกสีเขียว กลีบดอกสีเหลือง ดอกกระเจียวพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะตัวคล้ายกับดอกข่า แต่ขณะนี้ดอกกระเจียวเริ่มได้รับความนิยมน้อยลงไปทุกที และตามธรรมชาติก็เริ่มหาได้ยากขึ้นเช่นกัน แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถปลูกขยายพันธุ์กระเจียวเป็นผักที่สามารถใช้ทานในครัวเรือนได้แล้ว จากเมื่อก่อนที่จะต้องออกไปหาตามธรรมชาติเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่ามีสรรพคุณคุณทางยาด้วยเช่นกัน 

ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร
ต้นกระเจียว

ในประเทศไทยมีการปลูกต้นกระเจียวมากในแถบภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชัยภูมิ จนได้ขนานนามว่าเป็นพืชสมุนไพรที่คู่กับจังหวัดไปเลย และยังมีการจัดงานชมทุ่งดอกกระเจียว ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดที่จัดขึ้นทุกปี มีนักท่องเที่ยวมากมายต่างแห่แหนกันมาที่นี่เพื่อยนโฉมความงามของทุ่งดอกกระเจียว นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ตามทุ่งหญ้าหรือตามป่าเขาด้วย ฤดูกาลที่เหมาะสมในการออกดอกคือฤดูฝน ส่วนที่สามารถนำมาทานได้จะเป็นต้นอ่อน และดอกเท่านั้น คนอีสานนิยมนำมาลวกหรือทานเป็นผักสดก็ได้ ใช้เป็นผักเคียงคู่กับน้ำพริก ขนมจีน ส้มตำและลาบ เป็นต้น ใบและหัวหรือเหง้าจะไม่นิยมทานกันเนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนมากคล้ายกับ ขิง ข่า หากทานในปริมาณมากอาจทำให้เป็นพิษได้ กระเจียวที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง และ ต้นกระเจียวขาวหรือกระเจียวป่า ดอกกระเจียวทั้งสองประเภทสามารถทานได้ แต่ดอกกระเจียวขาวหรือกระเจียวป่าจะมีกลิ่นฉุนแรงกว่ากระเจียวแดงจึงได้รับความนิยมมากกว่า

กระเจียวป่า
ดอกกระเจียวขาว
ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร
ดอกกระเจียวแดง

ส่วนประโยชน์ของดอกกระเจียวนั้นนอกจากรสชาติและกลิ่นเฉพาะตัวแล้ว ยังสามารถแก้ท้องผูก ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร และมีกากใยอาหารสูงช่วยในการขับถ่ายได้ดี ช่วยในการบำรุงร่างกาย

ดอกกระเจียว พืชสมุนไพร

โทษของกระเจียวนั้นมีไม่มาก หากแต่ขึ้นอยู่กับวิธีการกินของเราเช่นกัน สำหรับการกินกระเจียวนั้น เราจะไม่นิยมกิน ใบ และ เหง้าของกระเจียว นั่นเป็นเพราะมีรสเผ็ดร้อนมาก หากกินมากๆ ก็อาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้ แต่การกินกระเจียวนั้น ต้องรู้จักวิธีการกินด้วยเช่นกัน ด้วยการลดความเผ็ดร้อนลงก่อนผ่านความร้อน ด้วยการต้ม หน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว ก่อนการทาน หากเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็จะสามารถเปลี่ยนพืชสมุนไพรชนิดนี้ให้กลายคุณประโชยน์ต่อร่างกายโดยไม่มีโทษเลย หวังว่าทุกคนจะอร่อยไปกับการทานนะครับ 

ฝากติดตามบทความดีๆของทีมงานอีสานเดลี่หรือหากมีข้อสงสัยสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเราได้ทางคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Tags: กระเจียว, กลิ่นหอม, กินง่าย, ของดีหายาก, ของดีอีสาน, ของป่า, ดอกกระเจียว, ดอกไม้ป่า, ธรรมชาติ, ธรรมชาติบ้านเรา, ผักป่า, ผักอีสาน, มีประโยชน์, สมุนไพร, หอมหวน, อร่อย, อร่อยชัวร์, อาหารการกิน, อาหารหายาก, อิสาน, อีสาน, อีสานใต้, แซบ, แซบหลาย