การเลี้ยง เป็ดเทศ เป็ดเทศเป็นเป็ดพื้นเมืองพันธุ์เนื้อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเขตภาคอีสาน เชื่อว่าใครหลายคนต้องชอบเป็ยอย่างมาก เนื่องจากเป็นเป็ดที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง เนื่องจากเป็นเป็ดที่กินทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ดังนั้นอาหารสำหรับเป็ดก็สามารถหาได้ตามท้องที่บ้านเราด้วยเช่นกัน เช่นผักสวนครัวต่างๆ เศษอาหาร แมลง กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา ผู้คนอีสานนิยมเลี้ยงติดบ้านไว้บริโภคในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้นเพียง 4-6 เดือนก็สามารถจําหน่ายได้แล้ว โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ทั้งท่ีเป็นเป็ดมีชีวิตและเน้ือเป็ด ชําแหละ เนื้อเป็ดเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก
“อาหารยอดนิยม รสเด็ด ลาบเป็ดนี่แหละคือหนึ่งในนั้น”
โดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ลาบเป็ด ต้มเป็ด เป็นเมนูอาหารอีสานยอดนิยมอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเกษตรกรสามารถจําหน่ายได้ง่ายในตลาดท้องถิ่น เกษตรกรสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมร่วมกับอาชีพหลักได้เช่นกัน
ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่ความสําเร็จเกษตรกรจะต้องคำนึงมัดังต่อไปนี้
- หากต้องการทำเป็นอาชีพหลักจำเป็นต้องมีตลาดรองรับที่ชัดเจน ท้ังตลาดเป็ดมีชีวิตและเน้ือเป็ดชําแหละ
- ต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่เป็นอาหารสัตว์ท่ีมีราคาถูกที่สามารถหาได้ในพื้นที่ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต หรืออาจมีวัสดุเหลือใช้จากระบบ สวน ไร่นา เช่น ผักสวนครัวต่างๆ หรืออาจเป็นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อให้เป็ดเดินหาอาหารเองได้ ทำให้ได้เป็ดที่มีสุขภาพดี ทนต่อสภาพอากาศ เป็นการเลี้ยงเป็ดแบบลดต้นทุนได้ หรือเกษตรกรบางท่านที่ทำสวนเกษตรอินทรีย์ ก็จะปล่อยเป็ดลงแปลงนาเพื่อช่วยกำจัดแมลงเรียกว่าได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- หากทำเป็นระบบฟาร์มจะต้องมีก็ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ในการใช้ตู้พัก เพื่อฟักไข่ผลิตและลูกเป็ดเทศเองหรือเกษตรกรสามารถเพาะลูกเป็ดขายก็นับได้ว่าเป็นรายได้อีกทางด้วยเช่นกัน
เมื่อองค์ความรู้พร้อมแล้วเราก็เข้าสู่กระบวน การเลี้ยง เป็ดเทศ
- อันดับแรกในการเลี้ยงเป็ดเราจะต้องมาคัดเลือกสายพันธุ์กันก่อน
พันธ์ุเป็ดในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น พันธ์ุเป็ดเทศท่ีเกษตรกรนิยมเลี้ยงและตลาดมีความต้องการสูงมากได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองและ พันธุ์บาร์บารี่
- ขั้นตอนต่อมาคือการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์
โรงเรือนควรทําจากไม้หรือวัสดุท่ีหาง่ายในท้องถิ่น เพื่อประหยัดต้นทุน หลังคาอาจจะมุงด้วยจาก หญ้าคา หรือแฝก ขนาดของโรงเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนของเป็ดที่เราจะเลี้ยงเพื่อไม่ให้แออัดกันจนเกินไป ค่าเฉลี่ยในการเลี้ยงเป็ดต่อ 1 ตารางเมตร สามารถใช้เลี้ยงเป็ดเทศได้ 4 ตัว ลักษณะของโรงเรือนท่ีดีควรต้ังอยู่ใน ทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้แสงแดดผ่านเข้าไปในโรงเรือนได้ ภายในโรงเรือนจะต้องมีภาชนะรางน้ําและอาหารอย่างเพียงพอกับจํานวนเป็ดท่ีเลี้ยง ต้องมีลานปล่อยสําหรับให้เป็ดเทศเดินเล่นออกกําลังกายและสามารถหาอาหารเองตามธรรมชาติกิน อาจจะเป็นสระน้ำ หรือทำอ่างน้ำไว้ให้เป็ดลงไปเล่นน้ำ เพื่อคลายความร้อนและคลายเครียดได้เช่นกัน
- ระบบในการจัดการเลี้ยงเป็ดเทศ
โดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงเป็ดเทศจะใช้วิธีระบบการเลี้ยงแบบเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อให้เป็ดไม่เครียดและสามารถกินอาหารได้ดี สุขภาพก็จะดีตามมาด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการเลี้ยงหากเราควรเริ่มด้วยการหาซื้อพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยง ในอัตาส่วน พ่อพันธุ์ 1 ตัว/ แม่พันธุ์ 5-7 ตัว
อาหารสําหรับการเลี้ยงเป็ดเทศเกษตรกรอาจจะใช้อาหารสําเร็จรูปหรือผสมอาหารใช้เองก็ได้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต แต่ทั้งนี้อาหารจะต้องมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของเป็ด ในแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต อาจจะหาอาหารหยาบมาเสริมได้ด้วยเช่นกัน เช่น กากมันมักยีสต์ หญ้าเนเปียร์สับ รำข้าว ปลายข้าว เป็นต้น และจะต้องมีการปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติควบคู่กันไปด้วย แม่เป็ดที่สมบูรณ์แข็งแรงจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุย่างเข้า 24-28 สัปดาห์ เกษตรกรจะต้องจัดเตรียมรังในการออกไข่ให้แม่เป็ดด้วย ทำได้จากลัง ตระกร้าพลาสติก ยางรถยนต์ รองด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางข้าวก็ได้
การฟักไข่ หากทำเป็นระบบฟาร์มเพื่อจำหน่ายลูกเป็ด แนะนำให้ใช้ตู้ฟักช่วย เพื่อให้แม่เป็ดทำหน้าที่ออกไข่อย่างเดียว แม่เป็ดก็จะไม่โทรมเร็วและสามารถกลับมาให้ไข่อีกรอบได้ หรือหากเราเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือนก็ปล่อยให้แม่เป็ดฟักไข่เองได้เลย ด้วยธรรมชาติของเป็ดแล้วจะเป็นสัญชาตญาณในการฟักไข่อยู่แล้ว แต่การแยกนําไข่มาฟักโดยใช้ตู้ฟัก ซึ่งจะให้ผลการฟักออกที่ดีกว่าการให้แม่เป็ดฟักเอง เนื่องจากอุนหภูมิภายในตู้ฟักนั้นจะคงที่ตลอด ซึ่งต่างจากการฟักแบบธรรมชาติที่อุนหภูมิไม่สม่ำเสมอ แต่ผู้เลี้ยงจะต้องมีความชํานาญในการใช้ตู้ฟักไข่ โดยเฉลี่ยแล้วเป็ดเทศจะให้ลูกเป็ดได้ปีละ 4 รุ่น ในแต่ละรุ่นประมาณ 14-15 ตัว เพราะฉะนั้นการฟักในตู้ฟักจะได้จำนวนลูกเป็ดมากกว่าการฟักเอง
ในการเลี้ยงควรมีน้ํา สะอาดและอาหารให้กินตลอดเวลา และหมั่นทําความสะอาดภาชนะใส่น้ํา ใส่อาหารเป็นประจําควรดูแลสุขภาพและ ทําวัคซีนให้ครบตามโปรแกรมท่ีกําหนด เพื่อลดการสูญเสียและทำให้การเลี้ยงประสบผลสําเร็จและได้ผลกําไร
ผลผลิตของเป็ดเทศที่ได้จะมีทั้งการจำหน่ายเป็ดตัวเป็นๆ, เนื้อเป็ดและจำหน่ายลูกเป็ด โดยเป็ดที่เลี้ยงขุนขายเนื้อใช้เวลาประมาณ 70-90 วัน แล้วจำหน่ายเป็นเป็ดเนื้อ โดยจะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5-3 กิโลกรัมต่อตัว
คำนวนต้นทุนและผลตอบแทนใน การเลี้ยง เป็ดเทศ ใน 1 ปี
สําหรับการเลี้ยงเป็ดเทศจํานวน 1 ชุด ประกอบด้วย พ่อพันธุ์จํานวน 10 ตัว แม่พันธ์ุจํานวน 50 ตัว
- ต้นทุนในการเลี้ยงเป็ด
ต้นทุนหลักซึ่งเป็นต้นทุนคงท่ีเช่น ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000-20,000 บาท ส่วนต้นทุนผันแปรซึ่งจะเป็นค่าพ่อแม่พันธุ์เป็ด ค่าอาหาร ( ขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าจะใช้วัตถุดิบที่หาได้เพื่อลดต้นทุน) ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ต่างๆ อันนี้จะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและอากาศ จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อปี
- ผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับในการเลี้ยงเป็ด
– การจําหน่ายลูกเป็ดเทศที่สามารถผลิตได้ เฉลี่ยประมาณ 50-60 ตัวต่อตัวต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการฟัก และการอนุบาลลูกเป็ด ซึ่งจะสามารถจําหน่ายได้ในราคาตัวละ 25 – 40 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับอายุของลูกเป็ด) คิดเป็นผลตอบแทน 1,200-1,500 บาทต่อแม่ต่อปี
– การจําหน่ายเป็ดใหญ่ที่เลี้ยงจนโต ขนาดน้ําหนักตัวโดยเฉลี่ยตัวละ 2.5-3 กิโลกรัม (ตัวผู้จะตัวโตกว่า) ราคาจําหน่ายในราคาเริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 70 บาท คิดเป็นผลตอบแทนตัวละ 125-165 บาทอย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงเป็ดเทศนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดด้วยเช่นกัน ราคาพันธุ์เป็ด อาหารเป็ด และราคารับซื้อผลผลิตของแต่ละตลาดด้วย ดังนั้นเกษตรกรผู้ที่สนใจจะเลี้ยงเป็ดเทศจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลี้ยง ซึ่งหากเราใส่ใจและให้เวลา รับรองว่าผลที่ตามมาดีแน่นอน
ฝากติดตามบทความดีๆของทีมงานอีสานเดลี่หรือหากมีข้อสงสัยสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับเราได้ทางคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย